ต้นตะโก





ชื่อวิทยาศาสตร์:  Diospyios rhodcalyx
ชื่อวงศ์:  Ebenaceae
ชื่อสามัญ:  Ebony
ชื่อพื้นเมือง:  ตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ
    ใบ  เดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ
    ดอก  ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1–3 มม. มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ ละประมาณ 3 ดอก ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆ
    ฝัก/ผล  กลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม- เมษายน
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด,ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:
    - ไม้ประดับ
    - สมุนไพร
    - ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือด้ามเครื่องมือ
    -  ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า ย้อมแห
    - ไม้ดัด
แหล่งที่พบ:  ขึ้นได้ทั่วประเทศเว้นภาคใต้  พบตามป่าผลัดใบจนถึงริมทุ่งนาที่ระดับ 40- 300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ผลสุกกินได้
สรรพคุณทางยา:
    - เปลือก ต้น และแก่น บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง ต้มกับเกลือ  อมรักษารำมะนาด  
    - ผลแก้ท้องร่วง  คลื่นไส้ ท้องเสีย แก้อาการบวม ขับพยาธิ แก้กษัย แก้ฝีเน่า
    - เปลือกผล เผาเป็นถ่าน ขับปัสสาวะ

    - เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง