มะม่วงหิมพานต์










ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Anacardium occidentale  L.

ชื่อสามัญ :   Cashew nut tree

วงศ์ :   ANACARDIACEAE

ชื่ออื่น :  กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง)  ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย  (ภาคใต้)  นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)  มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสินหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง)  มะม่วงไม่รู้หาว  มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) มะม่วงสิโห (เชียงใหม่)  มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
ส่วนที่ใช้ :  ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก  1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด

สรรพคุณ :

ยางจากผลสด ยางจากต้น  -  เป็นยารักษาหูด

เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน

ยางจากต้น
- ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต  
- แก้เลือดออกตามไรฟัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

ยางจากผลสด - ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย


ยางจากต้นสด - ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย