ต้นไทรช้อนทอง







ชื่อวิทยาศาสตร์:     Ficus annulata

ชื่อวงศ์:                  MORACEAE


ชื่อสามัญ:              Banyan Tree


ไทรใบช้อนเงินช้อนทอง ใบมีลักษณะคล้ายช้อน จึงเรียกว่า "ไทรใบช้อนเงินช้อนทอง" ขนาดพุ่มจะโตช้ากว่าไทรญี่ปุ่น แต่พุ่มจะแน่นกว่าเนื่องจากใบมีขนาดเล็กกว่า เป็นต้นไม้แบบเสียบยอด ขนาดตอจึงไม่เพิ่มขนาดแล้ว ทั้งสูงและทั้งความหนาจะเท่าเดิมมีเพียงพุ่มเท่านั้นที่จะเพิ่มขนาดขึ้น หากท่านไม่ชอบ ก็สามารถตัดแต่งได้ ไทรใบช้อนเงินช้อนทองเป็นไม้ทน เลี้ยงง่าย หากแดดไม่จัดมาก รดน้ำวันเว้นวันได้ หากโดนแดดใบจะมัน ปลูกได้ทั้งลงดินและวางทั้งกระถาง


ประโยชน์พืชประดับ

ต้นจันทน์ผา





ชื่อพื้นเมือง จันผา จันทน์ผา จันทร์ผา

ชื่อสามัญ   -

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiri Gagnep

ชื่อวงศ์  AGAVACEAE

ชื่ออื่น  ลักกะจันทน์ จันแดง จันทร์แดง

ลักษณะทั่วไป 
·         ไม้ขนาดเล็กสูง 3-7 เมตร ไม่ผลัดใบ รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว โตช้า
·         ใบ เป็นใบเดี่ยวออกบริเวณยอดเป็นกระจุก ใบเรียวยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ
·         ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาว เป็นช่อพวงโต
·         ผล เป็นผลพวงคล้ายผลหมากเล็กๆ

การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ
การกระจายพันธุ์  ชอบขึ้นบริเวณแสงแดดจัด ทนแล้ง ลมแรง และทนเค็ม ไม่ชอบน้ำขังแฉะ


ประโยชน์  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก่นมีรสขมเย็น ใช้แก้ไออันเกิดจากซางและดี บำรุงหัวใจ แ้ก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บาดแผล และใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ดับพิษไข้

ต้นพญาสัตบรรณ






ชื่อสามัญ                   Devil Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์         Alstonia scholaris

ตระกูล                        APOCYNACEAE

ชื่ออื่น                        ตีนเป็ดไทย

ลักษณะทั่วไป

พญาสัตบรรณเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร

ผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆสีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ

ใบออกเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาวลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร

ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลืองผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
การเป็นมงคล

    คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณหรือฉัตรบรรณคือเครื่องสูงที่ใช้ในขบวนแห่เป็นเกียรติยศ และ พญา ก็คือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับถือ


  ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัตรคือเป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะได้รับการยกย่องและนับถือจากบุคคลทั่วไปเพราะสัตคือสิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือและยกย่องของคนทั่วไป

ต้นไทรเกาหลี






ชื่อพฤกษาศาสตร์ :   Ficus annulata

ชื่อวงศ์ :   MORACEAE

ชื่อสามัญ:  Banyan Tree

ชื่อไทยพื้นเมือง: ไทรเกาหลี

หมวดหมู่ทรัพยากร: พืช

ลักษณะ: เป็นไม้ชื้นต้นมีความสูงประมาณ2-2.5เมตร มีใบตกและขนาดเล็ก มีลักษระเหมือนพีระมิด คือเป็นรูปทรงปริซึม ใบมีสีเขียวเข้ม สวยงาม
    ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร  ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์
    ฝัก/ผล  แบบมะเดื่อ 1.8 - 3 ซม. ออกเป็นคู่ในซอกใบ รูปไข่ สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม ก้านผล 1 - 1.5 ซม. อ้วนสั้น ด้านบนมีวงแหวนนูน ด้านล่างและกาบใบรูปสามเหลี่ยมแคบขนาด 4 - 7 มม. 3 กาบ ที่ยอดผล

ประโยชน์: -ใบ ใช้รักษาบาดแผลได้
                  - น้ำเลี้ยงของกิ่งใช้รักษาโรคตับ
                  -กิ่งและใบใช้เป็นยาแก้ปวดหัว
แหล่งที่พบ: โรงเรียนชลบุรี"สุขบท"(หน้าตึกอำนวยการ)
ตำบล:บางทราย
อำเภอ:เมือง
จังหวัด: ชลบุรี

ฤดูกาล:ฝน

ต้นประดู่






ชื่อวิทยาศาสตร์     Plerocarpus Indicus

ชื่อวงศ์                     FABACEAE

ชื่อสามัญ                  Padauk

ชื่ออื่นๆ                     Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)

ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ประโยชน์
     ใบ : รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
    เปลือก : รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย ทำสัย้อมผ้า
    แก่น : รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
    ผล : แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน

การปลูกและดูแลรักษา
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง

ต้นมะกรูด






ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus hystrix  DC.

ชื่อสามัญ :   Leech lime, Mauritus papeda

วงศ์ :   Rutaceae

ชื่ออื่น :  มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ราก ใบ ผล ผิวจากผล

สรรพคุณ :

ราก -  กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ

ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย

ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด

ผิวจากผล
- ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
- เป็นยาบำรุงหัวใจ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้

ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย

โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

ต้นชงโค







ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia purpurea L.

ชื่อสามัญ: Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Purple Bauhinia

ชื่ออื่น: เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)  
        
วงศ์:  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

สมุนไพรชงโค มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ดอกตีนวัวเสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี(แม่ฮ่องสอน)เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ)ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) เป็นต้น โดยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะของต้นชงโค
ชงโคเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆกับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่วกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษาถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน

ลักษณะของดอกชงโค ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษระของดอกจะคล้ายกับดอกกล้วยไม้ เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้าโค้งขึ้นด้านบน และมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรตัวผู้

ประวัติต้นชงโค ชื่อของชงโคนั้นมาจากใบชงโคมีลักษณะเป็นใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัว สำหรับบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจมาจากชื่อที่ยังไม่ไพเราะ มีความหมายดีถูกใจคนไทยก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้นชงโคก็จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะสำหรับชาวฮินดูแล้วถือว่าต้นชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ที่อยู่ในเทวโลก และยังนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมี (พระราชาของพระนารายณ์) จึงควรค่าแก้การเคารพบูชาและปลูกไว้ในบริเวณบ้าน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้ประดับ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆอีกหลายโรงเรียน เช่น คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนปิยะบุตร์ ฯลฯ !

ชงโคฮอลแลนด์ หรือ ชงโคออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่าง ชงโคกับ เสี้ยวเป็นชื่อที่ตั้งมาใช้ในทางการค้า เพื่อเพิ่มความน่าสนใจช่วยทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง และไม่ได้เป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากประเทศฮอลแลนด์หรือออสเตรเลียหรือมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยจะมีความแตกต่างกับชงโคทั่วไป โดยจะมีลักษณะเด่นตรงที่มีขนาดของดอกที่ใหญ่กว่า กลีบดอกใหญ่กว่า มีสีสันสดใสกว่าเล็กน้อย

ประโยชน์ของชงโค
  1. ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ)
  2. ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี (ดอก)
  3. ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก)
  4. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
  6. ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น)
  7. ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก)
  8. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
  9. ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ)
  10. ประโยชน์ของชงโค มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ


ต้นสะเดา




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton

ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

วงศ์ :   Meliaceae

ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี 
ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

สรรพคุณ :

ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี

ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ

เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด

ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย

กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ

ยาง - ดับพิษร้อน

แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ

ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก

ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ

ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ

เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง

น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

เป็นยาขมเจริญอาหาร
ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

สารเคมี :
          ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin
          ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
          เมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin

          Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย