ต้นขนุน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Artocarpus heterophyllus  Lam.

ชื่อสามัญ :   Jack fruit tree

วงศ์ :  MORACEAE

ชื่ออื่น :  ขะนู (ชอง-จันทบุรี) ขะเนอ (เขมร) ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  นากอ  (มลายู-ปัตตานี) เนน (ชาวบน-นครราชสีมา) มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้) ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ)  หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม การออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม  ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้ :  ยวง เมล็ด แก่นของขนุน ส่าแห้งของขนุน ใบ


สรรพคุณ :

ยวงและเมล็ด - รับประทานเป็นอาหาร

แก่นของขนุน - ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่

ส่าแห้งของขนุน - ใช้ทำชุดจุดไฟได้

แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด - มีรสหวานชุ่มขม บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น สมาน

ใบขนุนละมุด - เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู และหูเป็นน้ำหนวก

ไส้ในของขนุนละมุด - รับประทานแก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรีที่มากไปให้หยุดได้
แก่นและเนื้อไม้ - รับประทานแก้กามโรค